วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึรั้ที่ 2
วัพุที่  18  ม  2560
รี  08:30 - 12:30 น.




นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
-เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
-มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา   
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
                - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
                - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
                - ขาดทักษะในการเรียนรู้
                - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
                - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
1.ภายนอก 
-เศรษฐกิจของครอบครัว
-การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
- ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
เด็กปัญญาอ่อน   แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
-ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
-กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
-เรียนในระดับประถมศึกษาได้
-สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
-เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
                 ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome  เกิดจาก  ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ    ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น    หน้าแบน ดั้งจมูกแบน     ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก     ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ    เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต     ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ    มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น     เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
-การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
-อัลตราซาวด์  
-การตัดชิ้นเนื้อรก
-การเจาะน้ำคร่ำ 
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน   หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

เด็กหูตึงหมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3.
เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4.
เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
 - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
 - มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
 - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
 เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
 - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
 - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
 - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา


ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น