วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บัทึลัรีรั้ที่  9

วัพุที่  19  เ 2560

รี  08:30 12:3 น.

นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั

การเขียนแผน IEP

องค์ประกอบ

1.ข้อมูลทั่วไป
2.ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
3.ข้อมูลด้านการศึกษา
4.ข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น
5.การวางแผนการจัดการศึกษา

และวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนลองเขียนแผน IEP  ไปพร้อมๆกันในห้องเรียน


ต่อมาอาจารนำแผนกราฟฟิครูปภาพมาให้นักศึกษาลองศึกษาดูเป็นแนวทาง





ประเมินตนเอง
            ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน  แต่งตัวถูกระเบียบ
        ประเมินเพื่อน  
             เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี
       ประเมินอาจารย์
             อาจารย์มีการเตรียมสื่อและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ

วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บัทึลัรีรั้ที่  8

วัพุที่  29  มี  2560

รี  08:30 12:3 น.

นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและควา
มสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ
•ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
•วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตาม
ศักยภาพ
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับ
โรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
•รายงานทางการแพทย์
•รายงานการประเมินด้านต่างๆ
•บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
•ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
•กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
•กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
•จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
•ระยะยาว
•ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
•กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
       –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
       –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
       –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
•ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
•เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
จะสอนใคร
พฤติกรรมอะไร
เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
          ใคร  อะไร เมื่อไหร่ / ที่ไหน    ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
•โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
•ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม   อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


     วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำคือ  กิจกรรม  " มือของฉัน "กติกาคือ  ให้นักศึกษาวาดรูปมือ
ลายมือของตนด้วยข้างที่ไม่ถนัดให้เหฟมือนที่สุดโดยที่ไม่ดู  เพื่อที่จะดูว่า ของที่อยู่กับเราทุกวันเราจะ
สังเกตและจดจำได้มากเพียงใด พอวาดเสร็จอาจารย์ก็จะคละกันแล้วให้เพื่อนตามหาเจ้าของลายมือ


   กิจกรรมที่  2  กิจกรรม  " วงกลมหลากสี  "อาจารย์ให้นักศึกษานำสีเทียนมาวาดรูปเป็นรูปวงกลมสีอะไร
ก็ได้ตามใจชอบ  แล้วทายนิสัยจากสีที่เราเอามาวาด  ว่าลึกๆแล้วเราเป็นคนยังไง  จากนั้น  ทุกคนก็เอา
ผลงานไปติดที่กระดานหน้าห้องที่ต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมมาไว้ให้
ประเมินตนเอง
            ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน  แต่งตัวถูกระเบียบ
        ประเมินเพื่อน  
             เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี
       ประเมินอาจารย์
             อาจารย์มีการเตรียมสื่อและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ

บัทึลัรีรั้ที่  7

วัพุที่  22  มี  2560

รี  08:30 - 12:30  น.

นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)


•  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
•  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
•  เครื่องโอภา (Communication Devices)
•  โปรแกรมปราศรัย

Picture Exchange Communication System (PECS)




บทบาทของครู
   •ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
   •ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
   •จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
   •ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
   •เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
   •การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  •การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  •เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  •ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
ครูจดบันทึก
ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
การให้โอกาสเด็ก
เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
ทักษะการรับรู้ภาษา
การแสดงออกทางภาษา
การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
ให้เวลาเด็กได้พูด
คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
ใช้คำถามปลายเปิด
เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
ร่วมกิจกรรมกับเด็ก



3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

การกินอยู่   การเข้าห้องน้ำ    การแต่งตัว    กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
อยากทำงานตามความสามารถ
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การได้ทำด้วยตนเอง
เชื่อมั่นในตนเอง
เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก



4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
•ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
•ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
•การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
•ต่อบล็อก
•ศิลปะ
•มุมบ้าน
•ช่วยเหลือตนเอง
ความจำ
•จากการสนทนา
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
•จำตัวละครในนิทาน
•จำชื่อครู เพื่อน
•เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
•จัดกลุ่มเด็ก
•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด


ประเมินตนเอง
     ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน  แต่งตัวถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีการเตรียมสื่อและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึรั้ที่ 6
วัพุที่  15  มี  2560
รี  08:30 - 12:30 น.



นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั


รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกันใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

         ต่อมาอาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปดอกบัว  โดยให้นักศึกษาวาดภาพดอกบัวให้เหมือนกับแบบแล้วอธิบายสิ่งที่เห็นจากภาพ เพื่อที่จะสอนนักศึกษาว่า  ในการสังเกตเด็กไม่ควรตัดสินเด็กโดยเอาความรู้สึกของตนเองมาตัดสิน    แต่ควรดูจากพฤติกรรมและสิ่งที่สังเกตเห็นจริงๆ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา