วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึรั้ที่ 3
วัพุที่  25  ม  2560
รี  08:30 - 12:30 น.




นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั


4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
       หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) "ความ" เป็น "คาม"      "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด    "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"     "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน    การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง    พูดเร็วหรือช้าเกินไป     เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
ความบกพร่องของระดับเสียง    เสียงดังหรือค่อยเกินไป     คุณภาพของเสียงไม่ดี
4.ความบกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia
Gerstmann’s syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
คำนวณไม่ได้ (acalculia)
เขียนไม่ได้ (agraphia)
อ่านไม่ออก (alexia)
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน    อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป     เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง    มีปัญหาทางระบบประสาท     มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง   มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
-หกล้มบ่อย ๆ
-หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ


ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น