วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึรั้ที่ 6
วัพุที่  15  มี  2560
รี  08:30 - 12:30 น.



นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั


รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกันใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

         ต่อมาอาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปดอกบัว  โดยให้นักศึกษาวาดภาพดอกบัวให้เหมือนกับแบบแล้วอธิบายสิ่งที่เห็นจากภาพ เพื่อที่จะสอนนักศึกษาว่า  ในการสังเกตเด็กไม่ควรตัดสินเด็กโดยเอาความรู้สึกของตนเองมาตัดสิน    แต่ควรดูจากพฤติกรรมและสิ่งที่สังเกตเห็นจริงๆ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา
บัทึรั้ที่ 5
วัพุที่  1  มี  2560
รี  08:30 - 12:30 น.

นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั


วันนี้อาจารย์สอนเนื้อหาในเรื่อง  
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
-ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
-เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช   มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 
-Inattentiveness

-Hyperactivity
-Impulsiveness
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
และวันนี้อาจารย์ก็แจกสีเมกิจให้นักศึกษาคนละกล่อง 



ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา

ศึดู ณ  รีพิ
วัที่  21  กุพัธ์  2560
"การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม"



          วันนี้อาจารย์ได้พานักศึกษาไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา  เมื่อไปถึงโรงเรียนก็แบ่งกลุ่มเพื่อนจะแบ่งเป็นห้องๆสังเกตดูพฤติกรรมเด็ก  ดิฉันได้อยู่ประจำห้อง 3/2  สังเกตน้องเนส(ดาวน์ซินโดรม) และน้องณิชา (ออทิสติก)  เมื่อแบ่งกลุ่มเสร็จก็แยกย้ายไปสังเกตน้องที่บริดวณสนามเด็กเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับน้องๆที่หน้าเสาธง  


ต่อมาก็เข้าห้องประชุมเพื่อทำความรู้จักเกี่ยวกับโรงเรียนเกษมพิทยา


ต่อมาได้แยกย้ายไปสังเกตน้องๆที่ห้องเรียนประจำชั้น

จากการสังเกตพฤติน้องเนสและน้องณิชา
น้องเนส
  จะ sensitive ด้านอาอารมณ์   จะเรียกร้องความสนใจ  ภาษาที่ใช้ไม่ชัดเจน  น้องจะชอบกล้อง  ชอบถ่ายรูป  ชอบกิจกรรมเคลื่อนไหน  สามารถสอนเพื่อนทำกิจกรรมเคลท่อนไหวได้  และชอบมุมนิทาน ชอบดนตรี  ชอบเล่นกับแว่นตาตลอด  เวลาเห็นอะไรที่วางไม่เรียบร้อยจะรีบเข้าไปจัดให้เรียบร้อยทันที  ในระหว่างที่น้องเนสทำกิจกรรมอยู่จะสังเกตเห็นว่าน้องเนสจะเข้าไปกอดน้องผู้หญิง

น้องณิชา  
    จะมีปัญหาด้านอารมณ์ควบคุมตัวเองไม่ได้  ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ  สามารถพูดโต้ตอบภาษาอังกฤษได้ดี ไม่สนใจคนแปลกหน้า  ระหว่างทำกิจกรรมในวิชาอังกฤษ เท้าเพื่อนไปโดนน้องนิดนึง  จะสังเกตเห็นว่า น้องจะชักสีหน้าทำหน้าตาไม่พอใจใส่เพื่อน  แล้วพูก โอ๊ยๆๆๆๆ  และน้องจะชอบดึงแก้มตัวเองเล่น


บัทึรั้ที่ 4
วัพุที่  8  กุพัธ์  2560
รี  08:30 - 12:30 น.


**********ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย**********
บัทึรั้ที่ 3
วัพุที่  25  ม  2560
รี  08:30 - 12:30 น.




นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั


4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
       หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) "ความ" เป็น "คาม"      "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด    "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"     "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน    การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง    พูดเร็วหรือช้าเกินไป     เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
ความบกพร่องของระดับเสียง    เสียงดังหรือค่อยเกินไป     คุณภาพของเสียงไม่ดี
4.ความบกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia
Gerstmann’s syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
คำนวณไม่ได้ (acalculia)
เขียนไม่ได้ (agraphia)
อ่านไม่ออก (alexia)
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน    อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป     เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง    มีปัญหาทางระบบประสาท     มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง   มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
-หกล้มบ่อย ๆ
-หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ


ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา

บัทึรั้ที่ 2
วัพุที่  18  ม  2560
รี  08:30 - 12:30 น.




นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
-เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
-มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา   
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
                - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
                - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
                - ขาดทักษะในการเรียนรู้
                - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
                - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
1.ภายนอก 
-เศรษฐกิจของครอบครัว
-การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
-การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
-พัฒนาการช้า
-การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
- ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
เด็กปัญญาอ่อน   แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
-ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
-กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
-เรียนในระดับประถมศึกษาได้
-สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
-เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
                 ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome  เกิดจาก  ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ    ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น    หน้าแบน ดั้งจมูกแบน     ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก     ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ    เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต     ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ    มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น     เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
-การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
-อัลตราซาวด์  
-การตัดชิ้นเนื้อรก
-การเจาะน้ำคร่ำ 
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน   หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

เด็กหูตึงหมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3.
เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4.
เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
 - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
 - มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
 - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
 เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
 - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
 - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
 - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา


ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึรั้ที่ 1
วัพุที่  11  ม  2560
รี  08:30 - 12:30 น.


นื้ที่ด้รี / รู้ที่ด้รั

     วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกของรายวิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย   โดยอาจารย์แจกที่ปั้มเชคเวลาเรียน  และคอสสิริบัส  


และร่วมสอนเนื้อหา วันนี้สอนหัวข้อเรื่อง " เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"  


ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ทางการแพทย์   มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการหมายถึง    เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ  
ทางการศึกษา   หมายถึง   เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ

      การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคลทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1    -พันธุกรรม
      -โรคของระบบประสาท
      -การติดเชื้อ 
      -ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
      -ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
      -สารเคมี
      -การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
      -สาเหตุอื่นๆ
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
-ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.       การซักประวัติ
2.       การตรวจร่างกาย
3.       การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.       การประเมินพัฒนาการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
-แบบทดสอบ Denver II
-Gesell Drawing Test 

-แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล




สิ่่งที่ได้รับ  
ได้รู้ว่าแท้จริงและเด็กพิเศษสามารถเรียนรวมกับเด็กปกติได้
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนมาก่อนเวลาแต่งตัวถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและค่อนข้างมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายแบบระเอียดใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายเป็นกันเองกับนักศึกษาเข้าใจนักศึกษา